กลุ่มงานกระดาษไดคัท / Die cut

(การอธิบายและการเชื่อมโยงข้อมูลของแมททีเรียลและโปรดักส์ บริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ในการมุ่งเน้นการนำเสนอรายละเอียดของข้อมูลเฉพาะส่วนที่ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูล และเข้าใจง่ายเป็นหลัก จะไม่มุ้งเน้นการนำเสนอข้อมูลเชิงวิชาการและทฤษฎีมาประกอบมากนัก)

กระดาษ มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของมนุษย์มายาวนาน ถึงแม้ปัจจุบันมนุษย์ได้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคมาทดแทนการใช้งานกระดาษ ในการเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิมมากขึ้น และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รวมถึงมีการคิดค้น ,เพิ่มเติม ,ดัดแปลง ,ส่วนหนึ่งส่วนใด เผื่อลดการใช้เยื่อกระดาษ หรือนำมาทดแทนการใช้เยื่อกระดาษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า "กระดาษ" ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการจำหน่าย และจัดเก็บสินค้า

กระดาษ มีความสำคัญในการจำหน่ายสินค้าของ "ผู้ผลิตสินค้า"

ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ,ขนม ,เครื่องนุ่งห่ม ,ยา ,เวชภัณฑ์ ,อาหารเสริม ,อุปกรณ์ไอที ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องมีกระดาษเป็นส่วนประกอบ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์แบบให้ผลิตภัณฑ์ก่อนออกถึงมือ "ผู้อุปโภค-บริโภค" ในขั้นตอนการจำหน่าย ที่ถูกเรียกว่า "แพคเกจจิ้ง" อันรวมไปถึงสิ่งที่ห่อหุ้ม ,เสริม ,เติม ,แต่ง ในส่วนต่างๆของผลิตภัณฑ์ จะถูกเรียกสรรพนามตามการใช้งานนั้นๆ อาทิเช่น กล่อง ,ถุง ,ป้ายแขวน ,ถาด ,แก้ว ฯลฯ

โดยบริษัทฯ จะแบ่งกลุ่มของกระดาษที่ใช้งานออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.ระดาษ "สื่อสิ่งพิมพ์"

2.ระดาษ "กล่องแพคเก็จจิ้ง"

3.ระดาษ "กล่องบรรจุภัณฑ์"

1.กระดาษเพื่อทำสื่อสิ่งพิมพ์

อาทิเช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ หนังสือ ฯลฯ

- ดังตัวอย่างกระดาษที่จะนำเสนอ ดังนี้

1)กระดาษอาร์ตมัน

2)กระดาษปอนด์

2.กระดาษเพื่อทำกล่องแพคเกจจิ้ง

อาทิเช่น กล่องสบู่ ,กล่องครีม ฯลฯ

- ดังตัวอย่างกระดาษที่จะนำเสนอ ดังนี้

1)กระดาษอาร์ตการ์ด

2)กระดาษกล่องแป้งหลังขาว-หลังเทา

3)กระดาษคราฟท์ หรือ กระดาษน้ำตาล 

4)กระดาษแฟนซี หรือ กระดาษพิเศษ

- โรงงานผู้ผลิตกระดาษแฟนซี จะมีการผลิตสี ลวดลาย ความหนา ของกระดาษ และกระดาษบางประเภทมีการเพิ่มกลิ่นหอมลงไปในเนื้อกระดาษ รวมถึงผิวของกระดาษที่มีความแตกต่างกัน ล้วนแล้วแต่เป็นเสน่ห์เฉพาะของกระดาษแฟนซีแต่ละแบบ การเลือกใช้กระดาษแต่ละแบบ สามารถสื่อความหมาย อารมณ์ ตีมของสินค้าที่จะส่งถึงผู้อุปโภค-บริโภค ให้ชัดเจนขึ้น รวมถึงรสนิยมของผู้ที่เลือกใช้งานได้ การนำกระดาษมาใช้งาน จะมีทั้งโชว์ความสวยงามของผิวกระดาษ หรือสามารถพิมพ์ลวดลาย ข้อมูลสินค้าได้

5)กระดาษแข็ง หรือจั่วปัง

- ส่วนมากการใช้กระดาษจั่วปังจะห่อหุ้มด้วยงานกระดาษพิมพ์ หรือกระดาษแฟนซี  และอาจเพิ่มออฟชั่นพิเศษ(หลังงานพิมพ์) อาทิเช่น  Hot Stamp หรือเคเงิน-เคทอง ,ปั้มนูน เป็นต้น เพื่อความสวยงาม ,ความหรูหรา ,ดูมีคุณค่าของสินค้า ทำดึงดูดสายตาผู้พบเห็น

ข้อดีของกระดาษแข็ง (จั่วปัง)

1)มีความแข็งแรง ทนทาน (ขึ้นอยู่กับตามความหนา เกรดของกระดาษ และการออกแบบดีไซน์ เป็นสำคัญ)

2)กล่องประเภทนี้ หากมีการออกแบบดีไซน์ที่ดี และลงตัว จะทำให้สินค้าที่บรรจุในกล่อง ดูหรูหรา ,ดูมีคุณค่า และราคาเพิ่มมากขึ้น

ข้อเสียของกระดาษแข็ง (จั่วปัง)

1)มีน้ำหนักมาก

2)ใช้พื้นที่จัดเก็บมาก

3.กระดาษเพื่อทำกล่องบรรจุภัณฑ์

อาทิเช่น กล่องลังเบียร์ ,กล่องลังบะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ

- ดังตัวอย่างกระดาษที่จะนำเสนอ ดังนี้

1)กระดาษลูกฟูก

- กล่องกระดาษลูกฟูกจะมีบทบาทไปทางการเก็บรักษา หรือบรรจุขนส่งเป็นส่วนมาก โดยสีจะมีสี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือขาว และน้ำตาล เฉดสีจะแตกต่างกันตามเกรด และประเภทกระดาษของโรงงานผู้ผลิต มีจำนวนชั้น ,ขนาดลอน ,เกรดกระดาษ ,ความหนาผิว ของกระดาษเป็นตัวกำหนดสเปคกระดาษ

- กระดาษลูกฟูก ยังมีบทบาทไม่น้อยในการนำไปผลิตเป็นกล่องแพคเกจจิ้งแบบกล่องไดคัท (Diecut) ส่วนใหญ่จะเน้นใช้สเปคกระดาษลูกฟูกแบบลอนเล็ก อาทิเช่น ลอน E ,F ,G เป็นต้น เหมาะสำหรับกล่องขนาดเล็ก สามารถประกบกับงานกระดาษพิมพ์ หรือพิมพ์ลงไปบนตัวกระดาษลูกฟูกได้โดยตรง หากดีไซน์แบบพิมพ์และแบบกล่องได้ลงตัว ความสวยงามไม่ต่างจากกล่องกระดาษไดคัท แบบอื่น แต่จะมีจุดเด่นคือมีความแข็งแรง และรับน้ำหนักได้เยอะกว่ากล่องกระดาษไดคัท ที่ใช้กระดาษกล่องแป้งหลังขาว ,กระดาษกล่องแป้งหลังเทา ,และกระดาษอาร์ตการ์ด สามารถทำเป็นช่องหน้าต่างด้านหน้ากล่อง เพื่อใช้โชว์สินค้าในกล่องได้

- ตัวอย่างจำนวนชั้นและขนาดลอนของกระดาษลูกฟูก ที่จะนำเสนอมีดังนี้

1.1)2 ชั้น ลอน ,,,,G ฯลฯ

1.2)3 ชั้น ลอน ,,,,G ฯลฯ

1.3)5 ชั้น ลอน BC ฯลฯ

ข้อดีของกระดาษลูกฟูก

1)ล่องจะมีความแข็งแรงในการรับน้ำหนัก และการเก็บรักษาสินค้า

(ความแข็งแรงของกล่อง ขึ้นอยู่กับสเปคลอน ,ผิว ,และเกรดกระดาษ ที่เลือกใช้)

ข้อเสียของกระดาษลูกฟูก

1)ใช้พื้นที่จัดเก็บมาก

2)ใช้พื้นที่ขนส่งเยอะ

งานกล่องกระดาษที่บริษัทฯผลิต-จำหน่าย มีดังนี้

1.กล่องกระดาษ / Paper Box

2.กล่องกระดาษแข็ง(จั่วปัง) / Cardboard

15 กันยายน 2564

ผู้ชม 3277 ครั้ง

Engine by shopup.com